วิตามินซี (Vitamin C) คุณค่าที่ได้มากกว่าการป้องกันหวัด

วิตามินซี (Vitamin C) คุณค่าที่ได้มากกว่าการป้องกันหวัด

โดยปกติแล้ว ข้อมูลที่เราทราบกันมาว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน จะสามารถสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายของเราได้ ทำให้ไม่เป็นหวัดและหายจากโรคหวัดได้เร็วขึ้น

จากผลวิจัยที่มีการทำในปี 1970 โดย ดร.ไลนัส พอลลิ่ง ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง ได้เขียนหนังสือ เล่มหนึ่งชื่อ "วิตามินซีกับโรคหวัด" เขากล่าวว่าหากเราได้รับ วิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัม จะสามารถป้องกันหวัด หรือถ้าเป็นหวัดก็จะหายเร็วกว่าคนปกติถึง 60%

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษามากมาย เกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินซี ที่ไม่ได้มีประโยชน์เพียงป้องกันโรคหวัดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆด้วย..ซึ่งได้แก่

วิตามินซี (Vitamin C) สามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้

วิตามินซี มีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพมากขึ้น นอกจากนั้นวิตามินซี ยังช่วยลดการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย หรือฮิสตามีน ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ในร่างกายนี้จะถูกกระตุ้นให้มีปริมาณสูงขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสารหรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ถ้าร่างกายมี วิตามินซี เพียงพอ ก็จะสามารถบรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส จากคุณสมบัติการเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ

วิตามินซี (Vitamin C) ช่วยบำรุงผิวได้

สำหรับการดูแลสุขภาพเพื่อให้มีผิวพรรณที่สมบูรณ์ การรับประทานผักสดและผลไม้สด ทำให้ผิวสวย เหงือกและฟันแข็งแรง นั่นเพราะวิตามินซี ในผักและผลไม้ จะช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตของผิว เมื่อเซลล์ผิวได้รับอาหารมากก็จะทำงานดีขึ้น ผิวจะดูมีสุขภาพดี และเรียบเนียน รวมทั้งวิตามินซี ยังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจนในเซลล์ ทำให้ผิวแน่น และยืดหยุ่นดีขึ้น ไม่เหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร วิตามินซี ยังช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจากวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยไปเสริมสร้างผนังเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงและต่อต้านการอักเสบ ทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น

คนที่สูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ ต้องการ วิตามินซี (Vitamin C) มากกว่าคนอื่น

มีการวิจัยพบว่า เด็กที่ผู้ปกครองสูบบุหรี่ จะมีปริมาณวิตามินซี ในร่างกายลดลงครึ่งหนึ่ง ของเด็กที่ผู้ปกครองไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่เอง ควรรับประทานวิตามินซี เสริม โดยวิตามินซี สามารถช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต ของคนที่สูบบุหรี่ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี ให้มีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว โดยพบว่า การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานวิตามินซี ในขนาด 2,000 มิลลิกรัม

รับประทาน วิตามินซี (Vitamin C) ทุกวัน ไม่เป็นต้อกระจก

มีการศึกษาชึ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่รับประทานวิตามินซี มาอย่างน้อย 10 ปี จะมีโอกาสที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจก ลดลงถึง 77% ซึ่งยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

การรับประทาน วิตามินซี (Vitamin C) จากผักผลไม้อย่างเดียวไม่เพียงพอ

เนื่องจากวิตามินซี เป็นวิตามิน ที่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ ความร้อน หรือความชื้น ดังนั้นเราควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่สดใหม่ หรือยิ่งเก็บจากต้นได้จะยิ่งดี โดยที่การรับประทานจากผลไม้ เช่น ส้ม 1 ผลที่เก็บใหม่จากต้น จะมีวิตามินซี ประมาณ 20-40 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าเราต้องการเพียงเพื่อไม่ให้ขาดวิตามินซี ต้องรับประทานส้มที่เก็บใหม่จากต้นวันละ 2-3 ผล แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถเลือกได้ ดังนั้นประมาณวิตามินซี ร่างกายได้รับแต่ละวันอาจจะไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ

การเลือกรับประทาน วิตามินซี (Vitamin C) ให้มีประสิทธิภาพ

ควรรับประทานวิตามินซี จากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากในธรรมชาติเรามักพบวิตามินซี ร่วมกับสารอาหารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ ดังนั้นการรับประทานวิตามินซี เสริม ควรเลือกรับประทานวิตามินซี ที่มีส่วนผสมของไบโอฟลานอยด์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินซี อยู่ในร่างกายได้ดีขึ้น

การรับประทาน วิตามินซี (Vitamin C) เสริมปลอดภัยแม่รับประทานในระยะยาว

วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายน้ำ ร่างกายสามารถขับออกได้ตามปกติโดยทางไต หากเราได้รับวิตามินซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะมีอาการของโรคเลือดออกตามไรฟัน แต่การได้รับวิตามินซี ที่มากเกินไป ร่างกายสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะอีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่ เกิดจากการประทานวิตามินซี แม่จะรับประทานในปริมาณที่สูง มีผลการวิจัย พบว่าในคนปกติการรับประทานวิตามินซี เป็นประจำทุกวัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สามารถรับประทานได้สูงถึง 3,000 มิลลิกรัมโดยไม่มีอันตรายใดๆ

บทบาทสำคัญของ วิตามินซี (Vitamin C)

1. เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างของหลอดเลือด เอ็น กระดูก และฟัน

2. เป็นสารด้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสุงช่วยปกป้องเซลล์ ทำให้เซลล์อยู่ในสภาวะปกติ

3. ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุจากอาหารได้ดียิ่งขึ้น

4. มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทจำพวก norepinephrine ซึ่งสารสื่อประสาทดังกล่าวนี้มีส่วนช่วยทำให้มองรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์

5. ช่วยในการสังเคราะห์สาร carnitine ซึ่งเป็นสารโมเลกุลขนาดเล็กที่มีส่วนช่วยในการลำเลียงไขมันที่ไมโทคอนเดรี ยเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน แก่ร่างกาย

6. มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของโคเลสเทอรอล โดยจะช่วยเปลี่ยนโคเลสเทอรอลให้กลายเป็นกรดน้ำดี (bile acids) ทำให้ ระดับโคเลสเทอรอลในหลอดเลือดลดลงได้

7. เสริมภูมิต้านทานและช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ เนื่องจากวิตามินซีมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้

สำหรับอาหารที่จัดว่ามีวิตามินซีสูง ได้แก่ อาหารจำพวกผักและผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะละกอ มะนาว กีวี พริกหยวก ผักกาด มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่งและบล็อคโคลี่ เป็นต้น เนื่องจากวิตามินซีสลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ แสง โลหะหรือความร้อน

ดังนั้น ส่วนใหญ่ วิตามินซี (Vitamin C) ที่มีอยู่ในอาหารจะสูญเสียไป ระหว่างขั้นตอนของการประกอบอาหาร เช่น ในกระบวนการต้มหรือนึ่งอาหารที่ใช้เวลานานมากเกินไป เช่นเดียวกับการแช่ผักไว้ในช่องแช่แข็งเป็นระยะเวลานาน หรือหั่นผักแล้วนำไป แช่น้ำจะทำให้วิตามินซีละลายไปกับน้ำได้

นอกจากนั้นการคั้นน้ำผลไม้รับประทานควรจะคั้นแล้วรับประทานเลยทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 วัน ถ้าเป็นไปได้ควรบริโภคผักและผลไม้สดเพราะจะให้ทำให้ได้รับวิตามินซีในปริมาณ ที่มากที่สุดได้

อาหารแต่ละชนิดมีปริมาณของวิตามินซีแตกต่างกันออกไป ดังตาราง

ตารางสรุปปริมาณวิตามินซีที่ได้รับจากการบริโภคอาหารชนิดต่าง ๆ

ชนิดของอาหาร
ปริมาณอาหาร
ปริมาณวิตามินซีที่ได้รับ (มิลลิกรัม)
  1. มะละกอ
1 ผล
187.87
  2. พริกหยวกสีแดง (หั่น) *
1 ถ้วย
174.80
  3. บล็อคโคลี่ (นึ่ง) *
1 ถ้วย
123.40
  4. สตรอเบอร์รี่
1 ถ้วย
81.65
  5. ส้ม
1 ผล
69.69
  6. แคนตาลูป (หั่น) *
1 ถ้วย
67.52
  7. กีวี
1 ผล
57.00
  8. ดอกกะหล่ำ (ต้ม) *
1 ถ้วย
54.93
  9. มะเขือเทศสุก
1 ถ้วย
34.38
  10. ราสเบอร์รี่
1 ถ้วย
30.76
  11. สัปปะรด (หั่น) *
1 ถ้วย
23.87
  12. ถั่วลันเตา (ต้ม) *
1 ถ้วย
22.72

ที่มา : Food and Drug Administration ประเทศสหรัฐอเมริกา

  * อาหารในข้อ 3,8, และ 12 ที่นำมาทดลองหาปริมาณวิตามินซีนั้นได้ผ่านขั้นตอนการประกอบอาหารแล้ว แต่เป็นขั้นตอนที่ผ่านการวิจัยว่าจะสามารถคงปริมาณของวิตามินซีธรรมชาติไว้ ได้มากที่สุด แต่วิตามินซีบางส่วนที่อยู่ในอาหารชนิดนั้นอาจสลายตัวไปบ้าง เช่นเดียวกับอาหารในข้อ 2,6,11 ที่ผ่านการหั่นและวิตามินซีบางส่วนอาจสลายไปเนื่องการปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับ ออกซิเจนในอากาศ ซึ่งถ้าเทียบกับอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ผ่านกระบวนการใดเลย จะมีปริมาณวิตามินซีธรรมชาติที่มากกว่า

ปริมาณวิตามินซี ที่ควรได้รับในแต่ละวัน

สำหรับความต้องการที่ควรจะได้รับวิตามินซี ในแต่ละวันนั้นแตกต่างกันตามวิถ๊ชีวิต และความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย เช่น

- ผู้ที่มีอาการเป็นหวัด เป็นโรคภูมิแพ้ และร่างกายอ่อนแอ ควรได้รับวันละ 1,000-2,000 มิลลิกรัม

- ผู้ที่อยู่ท่ามกลางมลภาวะที่เป็นพิษ มีความเครียดในร่างกาย ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม

- ผู้ที่ต้องการดูแลและบำรุงสุขภาพ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม