โรคต้อกระจก (Cataract )

โรคต้อกระจก (Cataract )

ต้อกระจก เป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตาที่มีความขุ่นเกิดขึ้น อาจมีสีขาวขุ่น สีเหลือง หรือสีน้ำตาล ทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลงภาพที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจน เกิดอาการที่เรียกว่าตามัว

อาการของต้อกระจก

แรกเริ่มสายตาจะมัวลงช้า ๆ ตามัวเหมือนมีหมอกมาบัง และเริ่มรบกวนการปฏิบัติภารกิจประจำวัน เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ จะลำบากขึ้น แต่ไม่มีอาการปวดตา อาการตามัวจะเป็นมากขึ้น ถ้าใช้สายตาในที่มีแสงแดดจัด ช่วงที่มีแสงสว่างน้อย หรือสลัวจะเห็นได้ชัดเจนกว่า และในบางรายเมื่อมองแสงไฟจากรถที่วิ่งสวนทางมาในตอนกลางคืน จะเกิดตาพร่ามัวหรือภาพซ้อน ถ้าปล่อยไว้นานอาการตามัวจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจถึงขั้นมองเห็นเป็นเพียงเงาเคลื่อนไหว

ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้ รักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเหมาะสมในระยะเวลาที่สมควรอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น เช่น ปวดตาอย่างรุนแรง และลุกลาม กลายเป็นต้อหินเฉียบพลัน หรือม่านตาอักเสบ ซึ่งถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ อายุพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีต้อกระจกอยู่แล้วบางส่วน มักพบแก้วตาขุ่นเล็กๆน้อยๆ หรือเป็นต้อกระจกระยะต้นๆ อาจพบจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยสูงอายุ เช่น

  • โรคเบาหวาน
  • ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจก
  • เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา
  • การใช้ยาบางชนิดเช่น steroid
  • ติดสุรา
  • เจอแสงแดดมาก
  • ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก
  • สูบบุหรี่
  • เด็กที่ขาดอาหาร
  • เลนส์ตาได้รับการกระทบกระเทืนอย่างแรง เช่นถูกกระแทก
  • การใช้ยา steroid เพื่อรักษาโรค

การคัดกรอง

  • อายุ 40-65 ปีให้ตรวจตาทุก 2-4 ปี
  • อายุมากกว่า 65 ปี ให้ตรวจทุก 1-2 ปี
  • ตรวจตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

การรักษา

การรักษาขึ้นกับสภาพของต้อกระจกกล่าวคือ

  • ต้อที่เพิ่งจะเริ่มเป็นและเป็นไม่มาก ต้องรอให้ต้อสุกเสียก่อน ระหว่างนี้ก็ให้ตรวจตาตามแพทย์นัด
  • ต้อที่แก่หรือสุกก็ผ่าตัดซึ่งไม่จำเป็นต้องรีบร้อน หากเตรียมตัวพร้อมก็ผ่าตัด
  • ต้ที่สุกและเริ่มมีโรคแทรกซ้อนให้ทำการผ่าตัด

การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นมัวออก วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี

  • Phacoemulsification เป็นวิธีที่นิยมทีสุดโดยการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง ultrasound สลายเลนส์และดูดออก
  • Extracapsular โดยการผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆแล้วเอาเลนส์ที่เสียออก

หลังจากเอาเลนส์ออกแล้วแพทย์ก็จะใส่แก้วตาเทียมเข้าแทนที่อันเดิม หลังผ่าตัดอาจจะมีอาการระคายเคืองตา อาจจะต้องใส่เครื่องป้องกันการขยี้ตา 1-2 วัน หลังผ่าตัก 1 วันก็จะเห็นชัดขึ้นแต่จะชัดที่สุดคือหลังผ่า 4 สัปดาห์และมีความจำเป็นต้องสวมแว่นตา หลังผ่าตัดหากมีอาการเหล่านี้ให้พบแพทย์

  • ตามองไม่เห็น
  • ปวดตาตลอด
  • ตาแดงมากขึ้น
  • เห็นแสงแปล็บๆ
  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะและไอ

ข้อดีของการผ่าตัดต้อกระจก

  • มีเลนส์ให้เลือกทั้งเลนส์ปกติและเลนส์ที่สามารถปรับระยะใกล้ไกลได้เพื่อระดับการมองเห็นที่หลากหลาย
  • มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก
  • เลนส์มีขนาดเล็ก พับได้ สอดเข้าไปภายในตาได้ง่าย
  • แผลในการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
  • ไม่ทำให้เนื้อเยื่อกระจกตาเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  • สามารถรักษาร่วมกับการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีอื่นๆ ได้

การป้องกัน

  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์