ดื่มอย่างไรให้ปลอดภัย

ดื่มอย่างไรให้ปลอดภัย

เครื่องดี่มแอลกอฮอร์มีมาหลายพันปีแล้ว และเป็นที่ทราบกันดีว่าการดื่มแอลกอฮอล์มากๆ สามารถทำให้เิดโรคตับโดยเฉพาะอย่างยิ่งตับแข็งได้

กลไกลการย่อยสลายแอลกอฮอล์

แอลกอฮอร์ถูกดูดซึมได้อย่างดีและรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือดที่กระพาะอาหารและลำไส้เล็ก การดูดซึมจะช้าลงหากมีอาหารในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมกระจายไปทั่วร่างกาย และสามารถผ่านรกไปสู่เด็กในครรภ์ได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ติดสุราและยังคงดื่มสุราในระกว่างตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดออกมาจะมีความผิดปกติได้อย่างมาก

ดื่มอย่างไรจึงจะปลอดภัย

ผู้ที่มีปัญหาโรคตับอักเสบเรื้อรัง สุขภาพแข็งแรง สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ 25-30 กรัมในผู้ชาย และ 15-20 กรัมในผู้หญิง การดื่มแอลกอฮอล์พร้อมหรือหลังอาหาร จะช่วยลดการเกิดพิษต่อตับได้ การดื่มประจำวันละน้อยจะดีกว่าดื่มหนักเป็นช่วงๆ

การหาปริมาณแอลกอฮอล์

ในการบอกความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มจะใช้กน่วยวัดเป็น ดีกรี ซึ่งหมายถึง หน่วยวัดความเข้มข้น คิดเป็น เปอร์เซนต์ของปริมาณแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในเครื่องดื่มนั้นๆ จะมีค่าเทียบเท่ากับหน่วย Gay-Lussac (GL) ที่เขียนไว้ที่ข้างขวด เช่น 43 ดีกรี ( = 43 GL = 43%) และแอลกอฮอล์ 1 ซีซี จะเท่ากับน้ำหนัก 0.98 กรัม

ตัวอย่างเช่น เหล้ายี่ห้อหนึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์ 43% (43 ดีกรี,43GL) หมายความว่า เหล้า 100 ซีซี จะมีแอลกอฮอล์ 43 ซีซี หรือมี แอลกอฮอล์= (0.8 x 43) = 34.4 กรัม

ถ้าจะดื่มแอลกอฮอล์ ในระดับที่ปลอดภัย....ในเพศชาย ไม่ควรดื่มเกิน 30 กรัม/วัน หรือ (100x30)/34.4=87 ซีซี /วัน เพศหญิงไม่เกิน 20 กรัม หรือ (100x20)/34.4 = 58 ซีซี /วัน

ดังนั้น เราสามารถคำนวณแอลกอฮอล์ในระดับที่ปลอดภัย คือผู้ชาย ไม่เกิน 30 กรัม ผู้หญิงไม่เกิน 20 กรัม ในเหล้าทุกแบบ ทุกยี่ห้อ ที่ชอบตามความเข้มข้น

แอลกอฮอล์มีประโยชน์บ้างไหม

มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงถึงประโยชน์จากการดื่แอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย โดยทำให้การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน รวมถึงการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดลดลง

เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ประโยชน์ดังกล่าวพบได้ทั้งวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งในเพศชายและหญิง การดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นไวน์ เบียร์ หรือ สุรา ก็ให้ผลดังกล่าว การออกกำลังกายสม่ำเสมอ คุมน้ำหนักตัวไห้พอดี คุมอาหารไขมัน เป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดหลอดเลือดหัวใจตีบ

แอลกอฮอล์ถูกย่อยสลายเป็นหลักที่ตับด้วยเอนไซม์ alcohl dehydrogenase (ADH) ให้เปลี่ยนเป็น aldehyde และ aldehyde ก็จะถูกเปลี่ยนเป็น acetate โดย acetaldehyde dehydrogenase (ALDH) พบว่า บางเชื้อชาติมีเอนไซม์นี้ต่างกัน เช่น ชาวญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 50 ที่มีเอนไซม์ ALDH ที่ย่อยสลาย aldehyde ได้ไม่ดี ทำให้เวลาดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย ก็เกิดผลข้างเคียงจากการที่มี acetaldehyde สูงในร่างกาย คือ มีตัวแดง หน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อย

โดยทั่วไปในผู้หญิงทีการย่อยของแอลกอฮอล์ โดย alcohol dehydrogenase ที่เยื่อบุกระเพาะอาหารน้อยกว่ผู้ชาย ทำให้ระดับของแอลกอฮอล์ขึ้นสูงได้เร็วกว่าเมื่อดื่มสุรา จึงทำให้ผู้หญิงเมาเร็วกว่าผู้ชาย

ผลของแอลกอฮอล์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย

แอลกอฮอล์มีผลกับสมอง ตับอ่อน หัวใน และหลอดเลือด การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากพบว่า มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่สูงขึ้น โดยกลไกเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะไขมันไตรกรีเซอไรด์ในเลือดสูง

ปัจจัยเสื่ยงของการเป็นโรคตับจากการดื่มแอลกอออล์

1.ปริมาณและระยะเวลาในการดื่ม พุดง่าย ๆ คือดื่มมาก,ดื่มบ่อย,ดื่มนาน (เป็นคนสม่ำเสมอ) จึงมีโอกาสเสี่ยงมาก ็มีคนศึกษาไว้คร่าว ๆ ว่า ดื่มเกินเท่าไหร่จึงจะมีความเสี่ยงก็พบว่า ในเพศชาย ถ้าดื่มเกิน 30 กรัม/วัน(ของแอลกอฮอล์) ในเพศหญิงถ้าดื่มเกิน 30 กรัม/วัน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับที่ว่าดังกล่าว

2. อายุและเพศ ผู้หญิงดูจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์มากกว่าเพศชาย อาจจะเป็นเพราะว่า ผู้หญิงถ้าดื่มเหล้าและติดแล้ว โอกาสเลิกได้น้อยกว่าเพศชาย และเฉลี่ยน้ำหนักตัวเพศหญิงน้อยกว่า และร่างกายกำจัดแอลกอฮอล์ได้น้อยกว่าเพศชาย

3. พันธุกรรม ลูกที่มีพ่อแม่ เป็นโรคสุราเรื้อรังมีโอกาสเป็นโรคตับจาก alcoholสูง

จากสภาพแวดล้อม และยีนส์บางตัวทำให้การกำจัด แอลลกอฮอล์ในร่างกายได้น้อยกว่าปรกติ

4. ไวรัสตับอักเสบ ผู้ป่วยที่มีโรคหรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี จะมีโอกาสเกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์ ได้สูง และมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก จากตับแข็ง และมะเร็งในตับกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้

ดังนั้น ผู้ที่เป็นพานะ หรือเป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี ไม่ควรดื่มสุราเด็ดขาด!

5. ยา ยาบางตัว เช่น พาราเซตามอล (Paracetamal) ที่เราใช้ยาแก้ปวดลดไข้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นตับอักเสบ หรือตับแข็งอยู่แล้ว ถ้าดื่มเหล้าด้วย และกินยา Paracetamal มากกว่า 10 กรัม/วัน ทำให้เกิดตับวาย คือ ตับทำงานล้มเหลว และเสียชีวิตได้ (พาราเซตามอล 1 เม็ด = 500 ม.ก ช 0.5 กรัม) ปรกติเวลาลดไข้ใช้กันครั้งละ 2 เม็ด (=1 กรัม) ในผู้ใหญ่

โรคตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอออล์

1.ไขมันเกาะตับ (alcoholic Fatty liver) เป็นการเปลี่ยนแปลงแรกสุดในโรคตับเนื่องจากแอลลกอฮอล์ เกิดจากการดื่มแอลลกอฮอล์ปริมาณมากๆ ได้ภายใน 5-7 วัน แต่ถ้าหยุดดื่ม ตับจะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ภายใน 3-4 สัปดาห์

ส่วนมากไม่ค่อยมีอาการ แต่บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร,คลื่นไส้,อาเจียน,ปวดท้องรอบ ๆ สะดือ หรือปวดที่ลิ้นปี่ ,ใต้ชายโครงด้านขวาได้ ้เป็นอาการเริ่มต้น หายเองได้ หลังหยุดดื่มเหล้าและไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคตับแข็ง
2.ตับอักเสบ (alcoholic Fatty liver) เป็นโรคที่พบบ่อยและมีความสำคัญนะครับ เนื่องจากทำให้ตายหรือพิการได้ คือ กลายเป็นตับแข็งต่อ ผู้ป่วยส่วนมากมักมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ และนาน ๆ โดยเฉพาะพวกที่ไม่ชอบรับประทานอาหารก่อน

อาการส่วนมากจะมีไข้ปวดท้องทั่ว ๆไป คลื่นไส้อาเจียนผอมลง น้ำหนักลดลง 90% ของผู้ป่วยมักมีอาการโรคขาดอาหารร่วมด้วย จะเป็นมาก ๆ จะมีท้องอืดได้ จากท้องมานน้ำ (คือมีน้ำในช่องท้อง) มีภาวะตับวาย เลือดออกง่าย ดีซ่าน บวม แขนขา หลังเท้า ถ้าเป็นมากมักจะเสียชีวิตได้ ในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังนอนโรงพยาบาล จึงมักเสียชีวิตจากภาวะตับวาย เลือดออกจากทมางเดินอาหาร เช่น อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดมาก ไม่หยุด ไตวาย และ/หรือ โรคติดเชื้อแทรกซ้อน เพราะภูมิต้านทานไม่ดีถ้าไม่เสียชีวิต ก็จะกลายเป็นโรคตับแข็งต่อไป มากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของตับอักเสบ
3.ตับแข็ง(alcoholic Cirrhosis) มักเกิดจากผู้ป่วยที่ดื่มมานาน ๆ และมาก ๆ คือปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน (คิดเป็นปริมาณเหล้า 43 ดีกรี = 232 ซีซี ต่อวัน ) และระยะเวลาที่ดื่มนานกว่า 5-8 ปี

คำว่า ตับแข็ง หมายถึง การมีแผลเป็นเกิดขึ้นในตับ เกิดจากตับอักเสบมาก และเซลล์ตับตายไป และกลายเป็นแผลผังผืนมาแทนที่ แม้ว่าตับจะสามารถสร้างเซลล์ขึ้นทดแทนได้บางส่วน ก็ไม่สามารถทดแทนเซลล์เก่าได้ ทำให้ตับทำงานผิดปรกติ ทำงานน้อยลง และเซลล์ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้อาจจะกลายเป็นมะเร็งต่อไปได้ อาการแสดงก็คล้ายกับโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์แต่มักไม่มีไข้ (ยกเว้นติดเชื้อแทรกซ้อน) อาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มือแดงมาก ลูกอัณฑะฝ่อ ต่อมน้ำลายโต จากฮอร์โมน ผิดปรกติ เมื่อเป็นโรคนี้แล้วอัตราการตายจะสูงสุดช่วง 1 ปีแรก ตายเร็วหรือช้าขึ้นกับ

-ผู้ป่วยสามารถหยุดดื่มแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ คือถ้าหยุดดื่มได้ โอกาสรอดก็สูง
-ถ้ามีอาการแทรกซ้อนมาก โอกาสจะเสียชีวิตมีสูง เช่น ท้องมาก เลือดออกผิดปรกติ

4.มะเร็งตับ(Hepatocellelar carcinoma) เมื่อเกิดภาวะตับแข็งแล้ว มีการสร้างเซลล์ตับใหม่ ๆ ทดแทน ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิด บี ซี เป็นต้น

อาการทั่ว ๆ ไป ก็คล้าย ๆ กับโรคตับแข็ง แต่จะมีอาการอื่น ๆ ร่วมเช่น ผอมลงอย่างรวดเร็ว ปวดใต้วายโครงขวามากขึ้น อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตในที่สุด