โรคเก๊าท์ คืออะไร?

โรคเก๊าท์ คืออะไร?

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ­

เก๊าท์จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้

 
1.
เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล.
 
2.
ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า
 
3.
พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
 
4.
พบก้อนขาวคล้ายหินปูน เรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ­

 

 

 
1.
เมื่อมีอาการปวดข้อควรไป พบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง
 
2.
เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE)
 
3.
เอกซเรย์ข้อที่ปวด

 

 

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ­

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร­ ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้

 
1.
ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ
 
2.
ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
 
3.
เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้
 
4.
โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ­

ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้

 
1.
ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ
 
2.
ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
 
3.
รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น
 
4.
ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ­

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคในเลือดสูง

 
1.
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
 
2.
ควบคุมอาหารโดยงดรับ ประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา
 
3.
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง

กรดยูริคในร่างกายเกิดได้ 2 ทางคือ 

 
1.
เกิดจากกสารพิวรีน หรือนิวคลิโอโปรตีน ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารที่บริโภค ส่วนนี้เป็นกรดยูริค ที่เกิดจากสาเหตุภายนอก จำนวนพิวรีนที่เกิดจากอาหารบริโภค จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนพิวรีนที่มีใน อาหาร ถ้าบริโภคอาหาร เครื่องในสัตว์ จะทำให้มีกรดยูริคสูงขึ้น อาหารบางชนิดกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหาร ให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีกรดยูริคเพิ่มมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า กรดยูริคจะเปลี่ยนแปลงไปตาม อาหารบริโภคที่มีโปรตีน การออกกำลังกาย และตามการทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร
 
2.
เกิดจากสารพิวรีน ที่ได้จากการสลายตัว ของพวกเซลล์ของอวัยวะในร่างกาย เป็นกรดยูริคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย กรดยูริคที่เกิดจากส่วนนี้ ย่อมจะเปลี่ยนไปตามการสลายตัวของอวัยวะ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น หรือมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

อาการของโรคเก๊าท์

 
1.
ระยะแรกมักมีอาการปวดรุนแรง อย่างทันทีทันใด มักพบอาการปวดที่หัวแม่เท้าก่อน  อาการมักเกิดขึ้นภายหลัง การกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมากๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงข้อที่อักเสบ จะตึงร้อน เป็นมัน ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น  ใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน
 
2.
ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดง แต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีก จนถึงขึ้นเรื้อรัง อาจมีอาการเป็นระยะๆ เนื่องจากผลึกยูเรตเป็นจำนวนมาก สะสมอยู่ในข้อกระดูก เยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็น ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม  เมื่อเป็นมาก จะมีการสะสมของผลึกนี้ ที่เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อ และเกิดปุ่มขึ้นที่ใต้ผิวหนัง มักเริ่มที่หัวแม่เท้า และปลายใบหูก่อน ข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะอยู่ อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูป และเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้นๆ
 
3.
อาการแทรกซ้อน พบว่า ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์ มักมีนิ่วในไตด้วย ผลึกยูเรต อาจสะสมอยู่ในส่วนหมวกไต ทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมากๆ จะขัดการทำงานของไต หรือทำลายเนื้อไต ทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว

การควบคุมอาหาร เนื่องจากกรดยูริคจะได้จาก การเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) 

 
นมและผลิตภัณฑ์จากนม
ไข่
ธัญญพืชต่างๆ
 
ผักต่างๆ
ผลไม้ต่างๆ
น้ำตาล
 
ผลไม้เปลือกแข็ง (ทุกชนิด)
ไขมัน
 
 

อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) 

 
เนื้อหมู
เนื้อวัว
ปลากระพงแดง
 
ปลาหมึก
ปู
ถั่วลิสง
 
ใบขี้เหล็ก
สะตอ
ข้าวโอ๊ต
 
ผักโขม
เมล็ดถั่วลันเตา
หน่อไม้

อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป)    *** อาหารที่ควรงด ***  

 
หัวใจไก่
ไข่ปลา
ตับไก่
มันสมองวัว
 
กึ๋นไก่
หอย
เซ่งจี้ (หมู)
ห่าน
 
ตับหมู
น้ำต้มกระดูก
ปลาดุก
ยีสต์
 
เนื้อไก่,เป็ด
ซุปก้อน
กุ้งชีแฮ้
น้ำซุปต่างๆ
 
น้ำสกัดเนื้อ
ปลาไส้ตัน
ถั่วดำ
ปลาขนาดเล็ก
 
ถั่วแดง
เห็ด
ถั่วเขียว
กระถิน
 
ถั่วเหลือง
ตับอ่อน
ชะอม
ปลาอินทรีย์
 
กะปิ
ปลาซาดีนกระป๋อง
 
 
 
 

การกำหนดอาหาร 

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าวแล้ว

 
1.
พลังงาน  ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลง ทั้งนี้  เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการ รุนแรง ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลาย ของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริค ถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่
 
2.
โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก
 
3.
ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่าผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย
 
4.
คาร์โปไฮเดรท ควร ได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่างๆ และผลไม้ ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมากๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย
 
5.
แอลกอฮอล์ ผู้ ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามากๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริค ถูกขับถ่ายได้น้อยลง

การจัดอาหาร

ในการจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรีนอย่างเข้มงวด ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็น พิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ และรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ

 
1.
ในระยะที่มีอาการรุนแรง ควรงด เว้นอาหารที่มีพิวรีนมากในระหว่างมื้ออาหาร ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มากๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไต และป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว พวกยูเรตขึ้นได้ที่ไต
 
2.
งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่างๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และขนมหวานที่มีน้ำตาล และไขมันมาก
 
3.
จัดอาหารที่มีใยอาหารมาก แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง
 
4.
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้า มีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
 
5.
อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น

แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com