แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) คือ อะไร ?

แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) คือ อะไร ?

แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรานี่เอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine)

แอล-คาร์นิทีนในร่างกายของเราก็ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการใช้ไขมัน (fat) โดยการขนส่งกรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในไมโทคอนเดรีย (ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์) หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง

ประโยชน์ของ แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

1. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides) อยู่ในระดับที่ต่ำ และช่วยเพิ่มระดับ HDL-คลอเรสเตอรอล ในเลือด

2. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (ซึ่งเป็น 1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)

3.แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ทำให้เราแก่ช้าลง ที่คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลงได้ ก็เพราะเหตุผลที่ว่า เซลล์ในร่างกายของเราทุกๆ เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจ หรือเซลล์จากที่อื่นๆ ในร่างกาย ทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ ได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิด และคาร์นิทีนนี่เองที่เข้าไปช่วยทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น

4. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยทำให้น้ำหนักลด กล้ามเนื้อและหุ่นกระชับขึ้น จากการที่แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงาน ไขมันที่สะสมในร่างกายจึงลดลง และผอมลง
มีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่สนับสนุนผลการลดไขมันสะสมของคนอ้วน โดยการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้ให้แบ่งวัยรุ่นที่อ้วนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทาน L-carnitine ขนาด 2 g/วัน อีกกลุ่มได้ยาหลอก (Placebo) โดยทั้งสองกลุ่มถูกจำกัดอาหารให้มีแคลอรี่เท่าๆกัน และมีการออกกำลังกายขนาดปานกลางเหมือนกัน หลังจากนั้น 3 เดือน
ต่อมาจึงทำการวัดน้ำหนักตัวอีกครั้ง พบว่ากลุ่มที่ได้รับ L-carnitine น้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 11 ปอนด์ ขณะที่อีกกลุ่มลดลงเฉลี่ยไม่ถึง 2 ปอนด์ และปริมาณไขมันในกระแสเลือดก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

5. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

6. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายใดๆ กับร่างกาย เหมือนกันที่พบในสารสกัดจากพืชสกุล Ephedra (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงอาหารและยาของอเมริกา ในเอกสารอ้างอิงครับ)

7. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้น และป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนใน เซลล์ไม่เพียงพอ

8. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเราด้วย


ทำไมถึงต้องทาน แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

แม้ว่าเราจะได้รับ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) จากอาหาร และยังสามารถสังเคราะห์ได้เองที่ตับแล้ว แต่ก็มักจะไม่เพียงพอต่อการเร่งเผาผลาญไขมัน เพื่อทำให้น้ำหนักลด ลดความอ้วน กระชับสัดส่วน เราจึงควรรับประทานอาหารเสริมแอลคาร์นิทีนเข้าไปเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ประโยชน์ดังกล่าวอย่างเต็มที่

ผลข้างเคียงของ แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

มีงานวิจัยที่ยืนยันความปลอดภัยจากการใช้ว่า แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ยังไม่มีผลทางลบแม้จะรับประทานในขนาดสูงถึง 4 กรัมต่อวันก็ตาม แต่ถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจจะพบได้บ้างก็เช่นมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว และเกิดมีผื่นแดง

ข้อควรระวังในการทาน แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริม แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นอันขาด เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ครับ


จะเกิดภาวะการขาด แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ได้อย่างไร

คนที่ทานมังสะวิรัชอาจจะเกิดภาวะการขาด แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ได้ในบางครั้ง เนื่องจาก แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) พบได้ในเนื้อสัตว์ นม และถั่วหมัก หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงในกรณีที่มีผู้ป่วยที่ขาด แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) (ซึ่งพบน้อยมาก) ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของยีน หรือตับ หรือไต หรือกินอาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีน และเมไทโอนีนน้อย ก็จะมีอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก เจ็บกล้ามเนื้อ แขนขาล้าอ่อนแรง ความดันเลือดต่ำ และอาจจะมีอาการมึนงงสับสนร่วมด้วย เป็นต้น

รูปแบบของ แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ที่มีการนำมาใช้

แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมจะมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่ใช้กันแพร่หลายมีอยู่ 3 รูปแบบ

รูปแบบแรกก็คือ  แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีราคาถูกที่สุด

รูปแบบที่สอง คือ แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine (LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคแอลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองโรคอื่นๆ

รูปแบบสุดท้าย คือ แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน [L-propionylcarnitine (LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับ โรคหัวใจ และใช้ได้ผลดีกับโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease – PVD)


การดูดซึม แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ของร่างกาย

ถ้าเรากินเข้าไป การดูดซึมของ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) จะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้แอลคาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน

10 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

1. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ทำให้เราแก่ช้าลง แค่เหตุผลแรกก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากที่จะกินแอลคาร์นิทีน กันแล้วสิ ที่แอลคาร์นิทีนทำ ให้แก่ช้าลงได้ ก็เพราะเหตุผลที่ว่า เซลล์ในร่างกายของเราทุกๆ เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจ หรือเซลล์จากที่อื่นๆ ในร่างกาย ทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ ได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิด และแอลคาร์นิทีนนี่เองที่เข้าไปช่วยทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น

2. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides) อยู่ในระดับที่ต่ำ และช่วยเพิ่มระดับ HDL-คลอเรสเตอรอล ในเลือด

3. นอกจากนี้ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine)  ยัง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (ซึ่งเป็น 1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)

4. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยทำให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะถ้าใช้ร่วมกันวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ

5. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วย เพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายใดๆ กับร่างกาย เหมือนกันที่พบในสารสกัดจากพืชสกุล Ephedra (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงอาหารและยาของอเมริกา ในเอกสารอ้างอิงครับ)

6. และยังพบอีกว่า แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วย ให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้น และป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนใน เซลล์ไม่เพียงพอ

7. ทั้ง แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) และ อะซีทิล-แอลคาร์นิทีน (Acetyl-L-Carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

8. อะซีทิล-แอลคาร์นิทีนช่วย ลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความ เครียด และอาจจะมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ด้วย แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้

9. อะซีทิล-แอลคาร์นิทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวก และลดภาวะความเครียดได้

10. แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเราด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

สำหรับคนที่คิดจะซื้อ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) มาใช้ควรต้องระวังเพราะอาจจะมีผลข้าง เคียงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกายได้ และอาจจะเข้าทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่กินร่วมกัน ดังนั้น ในการใช้แต่ละครั้ง ควรต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่า

ข้อควรจำให้ขึ้นใจก็คือสสารทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเอง ขึ้นกับปริมาณและช่วงจังหวะเวลาของการใช้ ถึงแม้ว่า แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) จะไม่ปรากฏผลข้างเคียงใดๆ ที่เด่นชัดมากนัก

แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ (ต้องอย่าลืมว่าเราได้ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) จาก อาหารประเภทเนื้อสัตว์และนมอยู่แล้วด้วย ซึ่งเราไม่สามารถทราบปริมาณที่แน่นอนได้)ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจจะพบได้บ้างก็เช่นมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว และเกิดมีผื่นแดง และในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine)เสริม

สำหรับการเล่นกีฬาเพื่อช่วยใน การสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรจะต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ คือไม่ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกันไปเป็นเวลานานๆ สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริม แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นอันขาด รวมไปถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ครับ

แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) กับบทบาทเพื่อการลดน้ำหนัก

ดูเหมือนว่า L-Carnitine น่าจะเป็นคำตอบที่ดีของคุณๆ ที่ประสงค์จะลดน้ำหนักด้วยสารธรรมชาติ เนื่องจากมีการทดลองนำเอาเซลล์ไขมัน (Adipose Tissue) ของคนอ้วนมาวิเคราะห์ พบว่าในเนื้อเยื่อดังกล่าวแทบจะไม่มี แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) อยู่เหลือเลย

ดังนั้นจากความสัมพันธ์นี้เอง ทีมนักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า กลไกการลำเลียงไขมันเพื่อไปใช้ หากถูกขัดขวางด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันได้ แต่หากให้สารชนิดนี้เพิ่มเข้าไป ก็จะส่งผลให้อัตราการเผาผลาญของไขมันสะสมมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่สนับสนุนผลการลดไขมันสะสมของคนอ้วน โดยการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้ให้แบ่งวัยรุ่นที่อ้วนเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกให้รับประทาน แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ขนาด 2 g/วัน อีกกลุ่มได้ยาหลอก (Placebo) โดยทั้งสองกลุ่มถูกจำกัดอาหารให้มีแคลอรี่เท่าๆกัน และมีการออกกำลังกายขนาดปานกลางเหมือนกัน หลังจากนั้น 3 เดือนต่อมาจึงทำการวัดน้ำหนักตัวอีกครั้ง พบว่ากลุ่มที่ได้รับ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) น้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 11 ปอนด์ ขณะที่อีกกลุ่มลดลงเฉลี่ยไม่ถึง 2 ปอนด์ และปริมาณไขมันในกระแสเลือดก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้น แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ซึ่งแม้ว่าจะพบมากในสัตว์เนื้อแดงก็ตาม แต่ปริมาณที่ได้จากการทานใน 1 วัน จะให้กรดอะมิโนดังกล่าวเพียง 50-200 mg.เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงไขมันสะสมไปเป็นพลังงาน

ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าหากคุณต้องการลดน้ำหนักด้วยสารธรรมชาติ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ขนาด 500-1,000 mg./วัน (1 cap 500 mg. หรือ แบบชนิดน้ำ 1000 mg/30 ml. สำหรับข้อดีในเรื่องการออกฤทธิ์ที่รวดเร็วขึ้น) น่าจะเป็นปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำหนัก และหากคุณมีดัชนีมวลร่างกาย (BMI) มากกว่า 25 ปริมาณการใช้จะสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งมีงานวิจัยที่ยืนยันความปลอดภัยจากการใช้ว่า แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ยังไม่มีผลทางลบแม้จะรับประทานในขนาดสูงถึง 4 g./ วันก็ตาม
 

References
ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์. แอลคาร์นิทีนกับบทบาทเพื่อการลดน้ำหนัก.
สถาบันวิจัยศาสตร์ ด้านความงามและสุขภาพ
สุทธิพงษ์ พงษ์วร. เรื่องของแอลคาร์นิทีน