นิ่วในไต

นิ่วในไต

นิ่ว ในไตเกิดจากการตกผลึกของของเสียที่ขับออกทางปัสสาวะ ปกติในปัสสาวะจะสารเคมีบางชนิดที่ป้องกันการตกตะกอน แต่เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างทำให้กลไกนี้ไม่ทำงานจึงเกิดการตกตะกอน หากตะกอนมีก้อนเล็กก็จะถูกขับออกจากไตทางปัสสาวะ แต่หากไม่ถูกขับออกและหากตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดทางเดินของปัสสาวะก็จะ เกิดอาการของนิ่ว

ส่วนประกอบที่สำคัญของนิ่วได้แก่ แคลเซี่ยมซึ่งอาจจะรวมกับ oxalate หรือ phosphate สารต่างๆเหล่านี้ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นอกจากนั้นยังมีนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อเรียกว่า struvite และนิ่วที่เกิดจากกรดยูริก
ผลเสียของนิ่วในไต

  • ปวดท้องเมื่อนิ่วอุดท่อไต
  • มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ถ้ามีการอุดนานจะทำให้เกิดการเสื่อมของไต

 

 สาเหตุของการนิ่วในไต­
จน ถึงปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบว่านิ่วในไตมีสาเหตุจากอะไร ปัจจัยที่สำคัญได้แก่การที่มีปัสสาวะน้อย และหรือมีการขับสารหรือเกลือแร่ออกมามาก เกลือแร่ที่สำคัญคือแคลเซี่ยม เมื่อรวมกับ oxalate หรือ phosphate ทำให้เกิดนิ่ว นอกจากนั้นอาจจะเกิดจากกรดยูริกที่ขับออกมามาก มีอาหารบางชนิดที่ทำให้เหิดนิ่วในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นนิ่วในไต
  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • เป็นโรคไต เช่น cystic disease of kidney
  • มีโรค เช่น hyperparathyroidism ทำให้เกิดนิ่วได้บ่อย
  • มีสาเหตุหรือโรคทางพันธุกรรมหลายชนิดที่ทำให้เกิดนิ่วในไต
    • การขาดน้ำจากการดื่มน้ำไม่พอ หรือออกกำลังกายมากและรับน้ำไม่เพียงพอ
    • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
    • การที่มีการอุดทางเดินปัสสวะ
    • Cystinuria มีโปรตีน amino acid cystine ซึ่งไม่ละลายในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่ว
    • hyperoxaluria ร่างกายผลิตเกลือ oxalate ขับทางปัสสาวะมากไป
    • Hypercalciuria เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายขับเกลือแคลเซี่ยมออกทางปัสสาวะมาไป
    • hyperuricosuria มีการขับกรดยูริกในปัสสาวะมาเช่นผู้ป่วยที่เป็น โรคเกาต์ ได้รับวิตามินดีมากไป
    • ยาบางชนิด เช่นยาขับปัสสวะ ยาแก้โรคกระเพาะที่มีเกลือแคลเซียม ยารักษาโรคเอดส์บางชนิด

สาเหตุของนิ่วในทางเดินปัสสาวะตามชนิดของนิ่ว
การ หาสาเหตุของนิ่วจะต้องนำนิ่วไปวิเคราะห์ว่าเป็นเกลือของสารอะไรรวมทั้ง ต้องนำปัสสาวะไปตรวจจึงจะทราบสาเหตุ จะได้วางแผนการป้องกันและการรักษาชนิดของนิ่วที่พบบ่อยๆ

  1. เกลือแคลเซียม Calcium stones (75%)ซึ่งพบว่าเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ซึ่งมักจะรวมกับ oxalate นิ่วชนิดนี้เห็นได้จาก x-ray
  •  ต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานมากไป Hyperparathyroidism
  • ผู้ป่วยที่มีการดูดซึมแคลเซี่ยมมากเกินไปอาจจะเกิดจากได้วิตามินดีมากเกินไป
  • ผู้ป่วยที่มีการขับแคลเซี่ยมและฟอสเฟตมากเกินไป
  • ผู้ป่วยที่ขับกรดยูริกในปัสสาวะมากไป
  • ผู้ป่วยที่มีระดับแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำ
  1. เกลือ Struvite (magnesium ammonium phosphate) Stones (15%)นิ่วชนิดนี้เห็นได้จาก x-ray ธรรมดานิ่วจะมีลักษณะเหมือนเขากวาง staghorn เกิดในผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง เชื้อแบคทีเรียจะสลาย ureaให้เป็น ammonia ผู้ป่วยมักจะมีการติดเชื้อเรื้อรังการรักษาจะไม่หายหากไม่ได้เอานิ่วออก ปัสสาวะจะเป็นด่างมักจะมีค่า pH>7
  2. เกลือ Uric acid stones (6%) เกิดจากที่รับประทานอาหารที่มี purine สูงได้แก่ เครื่องใน สัตว์ปีก เป็นต้น ปัสสาวะจะเป็นกรดโดยมีค่า pH<5.5 นิ่วชนิดนี้ไม่สามารถเห็นได้จาก x-ray ธรรมดา
  3. เกลือ Cystine stones (2%)เกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการดูดซึมสารCystine

อาการของโรค
ผู้ ที่มีนิ่วส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วหลุดไปอุดทางเดินปัสสวะทำให้เกิดอาการเจ็บที่หลัง และชายโครง นอนเปลี่ยนท่าจะไม่หาย ปวดบิดๆเป็นๆหายๆ อาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะมากหรือน้อยขึ้นกับขนาดของนิ่ว ตำแหน่งที่นิ่วนั้นอุดอยู่ นิ่วนั้นอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยแค่ไหน

  • นิ่ว ที่อุดท่อไตกับกรวยไต ureteropelvic junction [UPJ] ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวโดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณขาหนีบ
  • นิ่ว อุดที่ท่อไต (ureter)ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างทันทีปวดอย่างรุนแรงปวดบิดเหมือนคลอด ลูก บางคนปวดเอวและปวดร้าวลงมาบริเวณอวัยวะเพศ อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • นิ่วอุดที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ (ureterovesicle junction) ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะ
  • นิ่วอยู่ในกระเพาะปัสสาวะอาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการปัสสาวะขัด

บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากมีการติดเชื้อจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายอาจจะทุบเบาๆบริเวณหลังอาจจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น

 การป้องกัน
-  อาหารป้องกันโรคนิ่ว
- ให้ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้วหรือให้ปัสสาวะออกมากกว่าวันละ 2.5ลิตร
-  ให้ดื่มน้ำชา กาแฟ เบียร์หรือไวน์จะป้องกันการเกิดนิ่ว
-  การดื่มน้ำมะนาววันละแก้วจะเพิ่มระดับ citrate ซึ่งป้องกันนิ่วที่เกิดจากเกลือแคลเซียม
-  การรับประทานแอบเปิลและน้ำองุ่นและ น้ำcranberry juiceทุกวันจะทำให้เกิดนิ่วได้
-  ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม Cola เนื่องจากไปลด citrate
-  ผู้ป่วยที่มีนิ่วเป็นชนิดแคลเซี่ยมควรลดอาหารเค็มเพราะเกลือโซเดียม เนื่องจากโซเดียมไปเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
-  ผู้ป่วยที่มีนิ่วเป็นเกลือแคลเซียมควรจะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างพอ เพียง เนื่องจากแคลเซียมในอาหารจะไปจับกับ oxalate ในอาหาร
-  ผู้ที่มีนิ่วควรรับประทานอาหารที่มีใยมาก
-  ให้ลดอาหารโปรตีนเนื่องจากอาหารโปรตีนจะเพิ่มการขับเกลือแคลเซียม ยูริก และoxalate ในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่วได้ง่าย
-  ผู้ที่เป็นนิ่วชนิดกรดยูริกควรลดอาหารที่ให้สาร purine สูงเช่นเครื่องใน สัตว์ปีก เบียร์ ถั่ว
-  ให้ลดอาหารที่มี oxalate สูงเช่น ถั่ว, chocolate, strawberries, plums, cranberries, raspberries, Apples, asparagus, beer, beets, berries (various, e.g., cranberries, strawberries), black pepper, broccoli, cheese, chocolate, cocoa, coffee, cola drinks, collards, figs, grapes, ice cream, milk, oranges, parsley, peanut butter, pineapples, spinach, Swiss chard, rhubarb, tea, turnips, yogurt และ Ascorbic acid (vitamin C) ถ้ายังมี oxalateในปัสสาวะสูงก็ให้วิตามิน B6

 อาหารป้องกันโรคนิ่วในไต

ปัจจัย เสี่ยงของการเกิดนิ่วในไตได้แก่ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ปริมาณน้ำที่ดื่ม และอาหารที่เรารับประทาน ร่างกายเราใช้อาหารในการให้พลังงาน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของเสียของอาหารที่ย่อยสลายจะถูกขับออกทางปัสสาวะ อาหารแต่ละประเภทจะให้ของเสียต่างกัน หากปริมาณของเสียมีมากขึ้นก็จะทำให้เกิดตกตะกอนเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นสำหรับผู้ที่เป็นนิ่วมาก่อนการป้องกันการเกิดนิ่วโดยการควบคุมอาหาร ร่วมกับการใช้ยาจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

 นิ่วในไตมีอยู่ 4 ชนิดได้แก่

  1. นิ่ว ที่มี Calcium oxalate stones เป็นนิ่วที่พบบ่อยที่สุด เกิดในภาวะที่ปัสสาวะเป็นกรด ร่างกายได้ oxalate จากพวกผัก ผลไม้ และถั่ว ส่วนแคลเซี่ยมได้จากอาหารพวกกระดูก
  2. นิ่วที่มี Calcium phosphate stones พบนิ่วชนิดนี้ไม่บ่อย มักจะเกิดในผู้ที่ปัสสาวะเป็นด่าง
  3. นิ่วที่มี Uric acid stones นิ่วที่มีกรดยูริคเป็นส่วนประกอบสำคัญ อาหารที่มีกรดยูริคสูงได้แก่ เครื่องใน โปรตีนจากสัตว์
  4. เป็นนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อ Struvite stones อาหารไม่มีส่วนต่อการเกิดนิ่ว
  5. นิ่วที่มี Cystine stones เป็นส่วนประกอบเกิดจากพันธุกรรมพบไม่บ่อย


 จะต้องดื่มน้ำปริมาณเท่าไรจึงจะป้องกันนิ่วได้­
ปริมาณ น้ำที่จะดื่มขึ้นกับสภาพอากาศ และกิจกรรม ปกติจะแนะนำให้ผู้ที่เป็นนิ่วดื่มน้ำจนปัสสาวะประมาณวันละครึ่งแกลลอน ผู้ที่ทำงานมากและทำในที่ร้อนก็ให้ดื่มน้ำมากขึ้น การดื่มน้ำมากๆจะทำให้ปัสสาวะเจือจาง(สังเกตปัสสาวะจะใจหรือมีสีเหลืองจางๆ)
น้ำอะไรที่ป้องกันนิ่วได้

  • น้ำเปล่าจะป้องกันนิ่วได้ดี
  • น้ำ ส้มน้ำมะนาว วึ่งมีสาร citrate จะลดการเกิดนิ่วชนิด calcium oxalate stones และ uric acid แต่อาจจะทำให้นิ่วชนิด calcium phosphate stones. เป็นมากขึ้น
  • ชาและกาแฟจะช่วยลดการเกิดนิ่ว แต่มีสาร oxalate มากควรระวังในผู้ป่วยที่มีนิ่วชนิด Calcium oxalate stones

น้ำชนิดไหนที่ควรจะหลีกเลี่ยง

  • น้ำองุ่น และ Cola จะมีสาร oxalate มากจะทำให้เกิดนิ่วชนิดนี้ได้
  • น้ำcranberry juice ที่ดื่มป้องกันการติดเชื้อ ก็มีสาร oxalate สูง

 บทบาทของเกลือในการป้องกันการเกิดนิ่ว
เมื่อ ร่างกายได้รับเกลือมาก เกลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะมาก เกลือที่อยู่ในปัสสาวะมาก จะทำให้เกิดการขับเกลือแคลเซี่ยมในปัสสาวะมาก ซึ่งจะทำให้เกิดนิ่วแคลเซี่ยมทั้ง oxalate หรือ phoshate

อาหารเนื้อสัตว์จะมีผลต่อการเกิดนิ่วในไตหรือไม่
เนื้อ สัตว์ทุกชนิด ไข่ โดยเฉพาะเครื่องในเมื่อย่อยสลายแล้วจะมีกรดยูริกในปัสสาวะมาก ดังนั้นผู้ที่มีนิ่วหรือโรคเกาต์ควรจะลดการรับประทานอาหารดังกล่าว

 ผู้ที่มีนิ่วในไตรับประทานแคลเซี่ยมได้หรือไม่
การ รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมไม่ได้ทำให้เกิดนิ่วชนิด calcium oxalate เนื่องจากแคลเวี่ยมในอาหารจะจับกับ oxalate ในอาหารและขับออกจากร่างกายทางอุจาระ ดังนั้นผู้ที่มีนิ่วชนิด calcium oxalate ควรจะได้รับแคลเซี่ยมวันละ 800 มิลิกรับ(นมพร่องมันเนย 1 แก้วมีแคลเซี่ยม 300 มิลิกรัม)เพื่อป้องกันนิ่วและเสริมสร้างกระดูก

ข้อควรระวัง..การรับประทานแคลเซี่ยมเสริมอาจจะทำให้เกิดนิ่วชนิด calcium oxalate เพิ่มขึ้นจึงแนะนำให้รับประทานแคลเซี่ยมพร้อมอาหาร

 สุราจะทำให้เกิดนิ่วในไตเพิ่มขึ้นหรือไม่
การ ดื่มสุราทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้น แต่จากการศึกษาพบว่าสุราไม่มีผลต่อการเกิดนิ่วชนิดกรดยุริก อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ดื่มสุราเกินสองหน่วยสุราต่อวัน

 การรับวิตามินจะทำให้เกิดโรคนิ่วในไตหรือไม่
การ รับวิตามิน ซี และดี จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ เพราะร่างกายจะเปลี่ยนวิตามิน ซีเป็น oxalate ขับออกทางปัสสาวะ แนะนำว่าไม่ควรจะรับเกินวันละ 500 มิลิกรับต่อวัน สำหรับแคลเผซี่ยมควรจะรับพร้อมอาหาร

 คนอ้วนจะเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วเพิ่มขึ้นหรือไม่
จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะมีโอกาสเป็นนิ่วในไตสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ดังนั้นควรจะรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ