วิตามินบี 3

วิตามินบี 3

วิตามินบี 3
วิตามินบี 3 หรือในอะซิน (Niacin) ไนอะซินย่อมาจาก Nicotinic acid vitamin และมีอีกซื่อว่า วิตามินพี (Vitamin PP) พบในปลา ไก่ เนื้อ ถั่ว ไข่ ตับ นม ธัญพืช และ พาสต้า และร่างกายสามารถสร้างได้โดยอาศัยกรดอะมิโนทริปโทเฟน ซึ่งได้จากอินทผาลัม มะเขือเทศ ยีสต์ อะโวคาโด ผัก ผลไม้ เห็ด มันฝรั่ง บรอกโคลี แครอท และหน่อไม้ฝรั่ง

วิตามินบี 3 ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ลด คอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเลือด ขยายหลอดเลือดเล็กๆช่วยการไหลเวียนเลือด กำจัดสารก่อแพ้ฮีสตามืนที่ทำให้เกิดอาการคัน บรรเทาอาการข้ออักเสบ บรรเทาอาการซึมเศร้า ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และผิวหนังมีความสมบูรณ์ และมีสุขภาพดี งานวิจัยพบว่าวิตามินบี 3 ปริมาณ 2-6 กรัม ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว 10-15% และไตรกลีเซอร์ไรด์ 80% และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดเลว 10-15%
และไตรกลีเซอไรด์ 80% และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี 15-30% ปริมาณวิตามินบี 3 ที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ 19 มิลลิกรัม และไม่ควรได้รับเกิน 10 เท่า

การขาดวิตามินบี 3 พบได้จากสาเหตุต่อไปนี้
1) การขาดโปรตีน โดยเฉพาะการได้รับทริปโทเฟนต่ำ

2) การรับประทานข้าวโพดหรือข้าวฟ่างเป็นแาหารหลัก เนื่องจากข้าวโพดมีทริปโทเฟนต่ำ และข้าวฟ่างมีลูซีนสูงทำให้เปลี่ยนไนอะซินเป็น NAD และ NADP จึงทำให้ขาดไนอะซิน

3) การดื่มสุราเป็นแระจำทำให้ร่างกายดูดซึมไนอะซินได้น้อยลง และมีโอกาสรับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย

4) การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ เช่นโรคลำไส้อักเสป ทำให้มีการย่อยและดูดซึมไยอะซินน้อยลง

อาการเมื่อขาดเล็กน้อยและระยะเวลาขาดไม่นานจะทำให้ท้องเสีย กังวล มีผื่น หากขาดรุนแรงและขาดเป็นระยะเวลานานจะเป็นโรคผิวที่โดนแสง จะเป็นผื่นดำเรียกว่า เพลลากรา (Pellagra) ซึ่งพบในอิตาลีช่วงศตวรรษที่ 18 มาจาก Pella ที่แปลว่า ผแวหนัง และ Agra ที่แปลว่า หยาบ และมีอาการเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน หลับยาก ความจำไม่ดี ซึ่งมักพบในผู้ดื่มสุราเรื้อรัง ในสหรัฐอเมริกา พบการขาดวิตามินบี 3 จนเกิดโรคเพลลากรา ถึงขั้นเสียวชีวิตในช่วงปี ค.ศ. 1920

จาก หนังสือคู่มืออาหารเสริม ฉบับสมบูรณ์ , ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์